ขายฝากคืออะไร

ขายฝาก ถ้าอธิบายแบบง่ายๆ คือการขอยืมเงินโดยนำหลักทรัพย์ไปจำนำไว้กับผู้ให้ยืม

โดยมีการโอนกรรมสิทธิ์กันถูกต้องตามกฏหมายโดยกรมที่ดิน

รวมถึงการออกสัญญาก็ทำโดยเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน (ทำธุรกรรมอย่างถูกต้องตามกฏหมาย)

โดยผู้เอาทรัพย์สินมาทำขายฝากมีเงื่อนไขว่าต้องมาไถ่ถอนภายในเวลาที่กำหนดไว้ตามสัญญา

หากไม่มาไถ่ถอนตามเงื่อนไขกำหนด ทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นของผู้รับขายฝากตามกฏหมายทันที

 

ขายฝากมีไว้สำหรับคนที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินด่วน เช่น

นายAเป็นนักธุรกิจ

 สั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อทำการผลิตไปแต่มีเงินมาหมุนไม่เพียงพอ

โดยนายAมีทรัพย์สินอาจจะเป็นที่ดิน บ้าน คอนโดหรืออะไรก็ตาม

(แต่ที่ทำกันประจำๆคืออสังหาริมทรัพย์ เพราะมีขั้นตอนในการจดทะเบียน

โดยบุคคลที่3คือเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าถูกต้องตามกฏหมายเป็นหลักฐาน)

นายBเป็นคนมีเงินสด และต้องการหาดอกผลจากเงินสดนั้น

เมื่อความต้องการตรงกันนายA ก็นำที่ดินมาขายฝากไว้กับนายB

 

นาย A มีเจตนาจะขอยืมเงินบุคคลบุคคลนึง

โดยยอมรับและรับรู้ว่าจะต้องมีเงื่อนไขเรื่องดอกเบี้ยและเวลาที่ต้องเงินมาไถ่ถอน

ส่วนนาย B ก็มีเงินสด ยินดีนำไปให้ผู้อื่นยืมเงิน

โดยมีต้นทุนคือเงินสดที่ต้องให้ไปและความเสี่ยงที่นายAจะไม่ทำตามเงื่อนไข

โดยจะได้ดอกเบี้ยเป็นสิ่งตอบแทน

 

จะเห็นได้ว่าในมุมนายB ก็มีความเสี่ยงอยู่บ้าง

เพราะฉะนั้นนายBก็จะลดความเสี่ยงด้วยการรับในวงเงิน ไม่เต็มมูลค่าของทรัพย์สินนั้นๆ

เพื่อที่จะเป็นหลักประกันว่าทางนายAคือผู้นำทรัพย์มาขายฝากจะนำเงินพร้อมดอกผลมาไถ่ถอน ไม่หนีหายไป

หรือถ้าไม่มีมาไถ่จริงๆ นายB ยังสามารถนำทรัพย์สินนั้นๆไปขายในตลาดได้โดยไม่ยากนัก

กฏหมายขายฝาก

จริงๆแล้วเอกสารทุกอย่างออกโดยเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ที่ควรรู้ไว้ก็เช่น

 

การขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ต้องไถ่ถอนกันภายในเวลาไม่เกิน 10 ปี

(โดยมากกำหนดที่ 1 ปีและต่อสัญญาเรื่อยๆหากทั้งสองฝ่ายยังแฮปปี้กันอยู่)

 

ต้องไถ่ภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ จะไถ่เมื่อเกินกำหนดแล้วไม่ได้

และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้ซื้อฝากอย่างเด็ดขาด ผู้ขายฝากหมดสิทธิไถ่

 

ขยายกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์คืนสามารถทำได้ ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ ออกโดยกรมที่ดิน

 

การไถ่ทรัพย์คืนหรือการซื้อกลับคืนหากไม่สามารถพบนายทุนได้ ในวันครบหรือก่อนวันครบกำหนดขายฝากสามารถนำเงินสดไปวางที่สำนักวางทรัพย์ได้โดยจะมีค่าเหมือนนำเงินไปไถ่ถอนกับผู้รับขายฝากทุกประการ โฉนดก็จะถูกอายัด ความเป็นเจ้าของก็จะกลับมาเป็นของผู้นำทรัพย์ไปขายฝาก

 

หากผู้ขายฝากเสียชีวิตระหว่างนั้น ทายาทก็สามารถไปใช้สิทธิ์ไถ่ถอนได้ หรือในสัญญาอาจระบุไว้ว่าให้ผู้ใดบ้างมีสิทธิ์ไถ่ถอนก็ได้

 

จะเห็นได้ว่าการทำขายฝากเป็นธุรกรรมที่ปลอดภัย ออกแบบไว้คุ้มครองทั้งฝั่งนายทุนและฝั่งผู้นำทรัพย์มาขายฝาก

จึงเป็นธุรกรรมที่ให้ประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย และเป็นธุรกรรมที่อยู่คู่สังคมไทยมานานแล้ว^^